ทฤษฎีการเรียนรู้ของบรูเนอร์
ทฤษฎีการเรียนรู้ของบรูเนอร์
2) การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน
และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ
3) การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้
4) แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
5) การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอดหรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
6) การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุดคือการให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery learning)
7) ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ
1. ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ ( Enactive Representation ) ( แรกเกิด - 2 ขวบ )
เด็กจะแสดงการพัฒนาทางสมองหรือทางปัญญาด้วยการกระทำและยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆตลอดชีวิตวิธีการเรียนรู้ในขั้นนี้จะเป็นการแสดงออกด้วยการกระทำเรียกว่าEnactivemodeจะเป็นวิธีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมโดยการสัมผัสจับต้องด้วยมือผลักดึงรวมถึงการใช้ปากกับวัตถุสิ่งของที่อยู่รอบๆตัวสิ่งที่สำคัญเด็กจะต้องลงมือกระทำด้วยตนเองเช่นการเลียนแบบหรือการลงมือกระทำกับวัตถุสิ่งของส่วนผู้ใหญ่จะใช้ทักษะทางการที่ซับซ้อนเช่นทักษะการขี่จักรยาน เล่นเทนนิส เป็นต้น
ในขั้นพัฒนาการทางความคิดจะเกิดจากการมองเห็น และการใช้ประสาทสัมผัสแล้วเด็กสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆเหล่านั้นด้วยการมีภาพในใจแทนพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจจะเพิ่มตามอายุ เด็กที่โตขึ้นก็จะสามารถสร้างภาพในใจได้มากขึ้นวิธีการเรียนรู้ในขั้นนี้เรียกว่า Iconic mode เมื่อเด็กสามารถที่จะสร้างจินตนาการหรือมโนภาพ(Imagery)ในใจได้เด็กจะสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆในโลกได้ด้วย Iconic modeดังนั้นในการเรียนการสอนเด็กสามารถที่จะเรียนรู้โดยการใช้ภาพแทนของการสัมผัสจากของจริงเพื่อที่จะช่วยขยายการเรียนรู้ที่เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะ ความคิดรวบยอด กฎและ หลักการ ซึ่งไม่สามารถแสดงให้เห็นได้บรูเนอร์ได้เสนอแนะให้นำโสตทัศนวัสดุมาใช้ในการสอนได้แก่ภาพนิ่งโทรทัศน์หรืออื่นๆเพื่อที่จะช่วยให้เด็กเกิดจินตนาการประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้น
ในขั้นพัฒนาการทางความคิดที่ผู้เรียนสามารถถ่ายทอดประสบการณ์หรือเหตุการณ์ต่างๆโดยใช้สัญลักษณ์หรือภาษาบรูเนอร์ถือว่าการพัฒนาในขั้นนี้เป็นขั้นสูงสุดของพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจเช่นการคิดเชิงเหตุผลหรือการแก้ปัญหา และเชื่อว่าการพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจจะควบคู่ไปกับภาษาวิธีการเรียนรู้ในขั้นนี้เรียกว่า Symbolic mode ซึ่งผู้เรียนจะใช้ในการเรียนได้เมื่อมีความสามารถที่จะเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม หรือความคิดรวบยอดที่ซับซ้อน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น